Postcast ที่แนะนำนี้เป็นบันทึกการสนทนาของนักเขียน Jeff Going กับ โค้ช (Mentor) ของเขาระหว่างที่เขาเขียนหนังสือเรื่อง Real Artists Don’t Starve ซึ่งผมเคยเขียนแนะนำไว้ในเรื่อง “แผนที่การใช้ชีวิตตามเสียงเรียกของหัวใจ”
ตั้งแต่ตอนอ่านผมมีความรู้สึกว่าคนเขียนหนังสือนี่เหมือนนักวิจัย เหมือนคนทำวิทยานิพนธ์ คือต้องมีการตั้งประเด็น ค้นคว้าหาคำตอบ
พอได้ฟัง postcast How to Write Your Best Book ซึ่งเล่าถึงเบื้องหลังงานเขียนของเขาชุดนี้ จึงได้ถึงบางอ้อ ว่ากระบวนการทั้งหมดนั้นเทียบเคียงกับงานวิจัยได้เลย เขาต้องทำการค้นคว้า มีการคุยกับโค้ช ซึ่งเหมือนอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ที่หากจะต่างกันก็คือ คนเขียนหนังสือจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเล่าเป็นอย่างมากด้วย เพราะนอกจากอ่านให้รู้เรื่องแล้ว ยังจำเป็นต้องเล่าให้ลื่นไหล น่าติดตาม และถ้าเป็นนักเขียนอาชีพแล้ว ย่ิงสำคัญเพราะมีรายได้จากการเขียนหนังสือ ทำให้การเลือกเรื่องยังต้องตอบสนองความต้องการขอตลาดด้วย ในขณะคนเขียนวิทยานิพนธ์นั่น อาจารย์ที่ปรึกษาจะรู้ดีว่า มีศึกษาจำนวนมากที่แค่เขียนให้อ่านรู้เรื่องก็ดีย่ิ่งแล้ว ยังมิต้องถามหาความรื่นไหลใด ๆ เพราะมักเป็นงานเขียนขนาดยาวชิ้นแรก ๆ ของนักศึกษาคนนั้น
คำแนะนำต่าง ๆ ในบทสนทนาเหล่านั้นจึงน่าสนใจเป็นประโยชน์มากสำหรับคนที่กำลังเขียนวิทยานิพนธ์ หรือกำลังเขียนหนังสือสักเล่ม ระหว่างฟังทำให้นึกถึงเพื่อน ๆ ที่กำลังเขียนวิทยานิพนธ์อยู่เลยนำมาแนะนำกัน link ที่ให้ไว้จะเป็น สรุปสาระสำคัญของตอนนั้น ๆ แต่ถ้าจะเก็บรายละเอียดจริง ๆ ต้องฟังไฟล์เสียง ซึ่งสามารถใช้ iPhone หรือ มือถือ andriod ดาวน์โหลดไปฟังได้สะดวกมาก
ตอนที่หนึ่ง เป็นการกำหนดให้ประเด็นที่จะนำเสนอ หรือตั้งข้อถกเถียง ซึ่งเหมือนกับการหาหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ แน่นอนความสำคัญอันดับแรก ๆ ก็ต้องเป็นความสนใจ ความชอบใจของผู้เขียนในประเด็นนั้น ๆ แต่ข้อจำกัดของการเขียนหนังสือ คือมันต้องเป็นประเด็นที่พอไปได้ในเชิงพานิชย์ด้วย
ตอนที่สอง เกี่ยวกับการวิจัย ประเด็นน่าสนใจในตอนนี้ คือเรื่องการนัดสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญ โค้ชแนะนำว่า คุณต้องเตรียมตัวทำการบ้านคนที่คุณอยากสัมภาษณ์อย่างดี อ่านงานของคนที่อยากสัมภาษณ์ให้ทะลุปลุกโปร่งเป็นเหมือนอะไรที่เค้าเขียนไว้แล้วคุณไม่จำเป็นต้องถามเค้าอีกซึ่งถือเป็นการเคารพผู้ให้สัมภาษณ์ และในการเตรียมตัวนัดหมายเขาคุณสามารถบอกได้ว่าคุณสนใจเข้าใจอะไรในงานของเขาและคุณมีคำถามอยากจะถามในประเด็น ที่มันเฉพาะจริงๆดังนี้ 1 2 3 นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนสัมภาษณ์อยากคุยด้วย เพราะถ้าเค้าต้องมาคอยเล่าสิ่งที่เขียนไว้ละเอียดแล้วซ้ำ ๆ โดยที่ไม่ได้มีประเด็นอะไรเพิ่มเติมก็น่าเบื่อและไม่อยากให้เวลามาสัมภาษณ์เท่าไหร่
“เขียนในสิ่งที่คุณเชื่อ คุณไม่จำเป็นต้องถูก แต่คุณทำให้คนคิด”
MARION ROACH SMITH
ตอนที่สาม เกี่ยวกับการตั้งประเด็นใน หนังสือ ในตอนนี้มีประเด็นที่พูดตรงกับหลักการเก็บข้อมูลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ให้มีกรอบแต่ อย่าตั้งหน้าตั้งตาเก็บแต่ข้อมูลที่ตั้งเป้าไว้เท่านั้น การพุ่งตรงไปที่ข้อมูลที่เราสนใจทำให้พลาดสิ่งรอบรอบตัวแม้ว่าการวิจัยจะมีกรอบแต่ก็ต้องคอยปรับกรอบอยู่เสมอตามข้อมูลที่ได้รับ คือไม่ใช่มุ่งแต่จะพิสูจน์ว่าประเด็นที่คิดไว้ถูกต้อง
มีการพูดถึงประเด็นถกเถียงในประเด็นที่ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนเซ็นสัญญากับสำนักพิมพ์แต่พอเก็บข้อมูลหรือเขียนไปสักพักประเด็นเปลี่ยนต้องทำยังไงสุดท้ายโค้ชก็แนะนำให้โทรกลับไปคุยกับสำนักพิมพ์มันก็เหมือนการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ บางทีเก็บข้อมูลมากขึ้นเรื่อยเรื่อย ประเด็นคำถามที่ตั้งไว้ก็เปลี่ยน โค้ชถึงกับบอกว่าถ้าคุณสังเกตุดีดีประเด็นคุณจะเปลี่ยนทุกวัน และแนะนำว่าถ้าไม่ได้ติดสัญญากับสำนักพิมพ์ประเด็นข้อถูกเถียงก็เปลี่ยนได้ถ้ามันทำให้คมขึ้น และคุณทำได้ดีในเรื่องนั้นเรื่องนั้น
อีกประเด็นที่สำคัญและทำให้คุณผ่อนคลายในการเขียนมากขึ้น คือ คุณไม่จำเป็นต้องถูก ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญคือคุณทำให้ผู้อ่าน–คิด ทำให้เกิดการถกเถียง
คือเราไม่ได้เขียนทุกส่ิงทุกอย่างของเรื่องนี้ เราเขียนแค่มุมมองหนึ่งในเรื่องนี้ คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้าใจทั้งหมดก่อนถึงจะเขียนเรื่องนี้ได้ แต่เราเขียนเพื่อปลุกให้คนอ่านให้คิด ซึ่งผมว่าคำแนะนำนี้เหมาะกับพวก มนุษย์สมบูรณ์แบบ จะได้กล้าเขียนปลดปล่อยความคิดตัวเองให้ไหลออกมาในงานเขียนบ้าง ไม่ต้องเกร็งมาก แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยขยันก็ไม่ควรใช้เรื่องนี้หยุดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
มีการพูดถึงร่างของหนังสือว่าเขียนไปสักพักคุณอาจจะพบประโยคในประเด็นสำคัญซึ่งทำให้คุณ ยกระดับงานให้ชัดขึ้น ส่วนมากร่างของงานแต่ละร่างจะช่วยทำให้ประเด็นข้อถูกเถียงคุณหนักแน่นขึ้นเรื่อย ๆ
อีกประเด็นคือ ถ้าคุณเขียนจนเกิือบจะเสร็จแล้ว แต่พบว่ามีเรื่องใหม่ที่น่าสนใจกว่าและจะเขียนได้ดีกว่าโค้ชแนะนำว่าอย่าหาเรื่อง 555 ให้ตัดใจปล่อยงานของคุณสู่โลกก่อนจะดีกว่า
สุดท้ายสิ่งที่ประประทับใจมากคือ โค้ชบอกว่าให้รักงานของคุณ เพราะเป็นสิ่งที่คุณจะอุทิศให้กับโลก…
ส่วนตอนที่สี่ ไม่ค่อยมีอะไรมาก เรื่องราวจะเขียนกับคนที่ต้องการเป็นนักเขียนจริงจังมากกว่า
“คุณจะเขียนหนังสือเล่มไหนก็ได้ แต่คุณไม่สามารถเขียนหนังสือได้ทุกเล่ม…เลือกมาสักเล่ม”